ความรู้เรื่องโรคที่อาจเกิดภายหลังน้ำท่วมและการป้องกัน

อหิวาตกโรค

อหิวาตกโรค เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเฉียบพลันที่มีอาการเกิดขึ้นทันทีทันใด คือ ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำคราวละมาก ๆ โดยไม่มีอาการปวดท้อง บางครั้งอาจมีอาเจียนด้วย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการขาดน้ำ ตาลึกโหล ริมฝีปากแห้ง ความดันโลหิตต่ำ ช็อก และเสียชีวิตได้ กรณีที่มีอาการท้องร่วง ให้รีบดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ ORS โดยสามารถรับผงน้ำตาลเกลือแร่ได้ที่สถานบริการสาธารณสุข หรือ ซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรือทำได้เอง โดยผสมน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ กับเกลือ ½ ช้อนชา ละลายในน้ำต้มสุก 1 ขวดกลม (750 ซีซี.) และรีบไปพบแพทย์

สถานการณ์หลังจากภัยคลื่นสึนามิ ถือว่ามีปัจจัยและสาเหตุสำคัญที่อาจทำให้เกิดอหิวาตกโรค เช่น การขาดแคลนอาหาร น้ำดื่มและน้ำใช้ที่สะอาด เนื่องจากระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานถูกทำลาย อีกทั้งน้ำทะเลได้ผสมกับบ่อน้ำจืด ทำให้มีสภาวะน้ำกร่อยซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ ซึ่งปีที่ผ่านมา พบการระบาดของอหิวาตกโรคเกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต ตรัง และ สตูล จึงอาจมีโอกาสสูงที่จะเกิดการระบาดของโรคได้อีก

การป้องกันอหิวาตกโรคที่สำคัญ คือ ประชาชนต้องเลือกรับประทานอาหาร น้ำที่ปลอดภัย และมีการรักษาความสะอาดที่ถูกต้อง กล่าวคือ ให้ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร ระหว่างการเตรียมอาหารและ หลังเข้าห้องน้ำ ทำความสะอาดฆ่าเชื้อพื้นผิวและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร ให้ปลอดจากแมลงและสัตว์ต่างๆ รวมไปถึงแยกอาหาร อุปกรณ์ภาชนะประกอบอาหาร เก็บอาหารที่ปรุงสุกแล้วออกจากอาหารสด ปรุงอาหารให้สุกทั่วถึง รวมทั้งเก็บอาหารในอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ทิ้งอาหารที่ปรุงสุกแล้วไว้เกินกว่า 2 ชั่วโมง เก็บอาหารที่ปรุงแล้วและอาหารที่เน่าเสียได้ไว้ในตู้เย็น (อุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส) อาหารที่ปรุงแล้วจะต้องนำไปอุ่น (ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสขึ้นไป) ก่อนรับประทาน

โรคหวัด

โรคหวัดเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันที่ระบบหายใจส่วนต้น (จมูกและคอหอย) เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้มีอาการน้ำมูกใสหรือคัดจมูก จาม อาจมีตัวร้อนเล็กน้อย ต่อมามีอาการไอ อาการเป็นมากใน 1-2 วันแรก แล้วค่อยๆ ดีขึ้น จากนั้นน้ำมูกข้นขึ้นกลายเป็นสีขาวขุ่นหรือเขียวคล้ายหนอง อาจไอมากขึ้น 2-3 วัน ส่วนใหญ่อาการจะหายภายใน 2 สัปดาห์
สภาวะหลังภัยจากคลื่นสึนามิ ประชาชนในศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่อยู่กันอย่างแออัด มีโอกาสติดโรคได้ง่าย เนื่องจากสูดอากาศที่มีเชื้ออยู่เข้าไป หรือจากการคลุกคลีใกล้ชิดผู้ป่วย

ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหวัดควรปฏิบัติตนคือ รับประทานอาหารตามปกติ ถ้าเบื่ออาหาร ให้รับประทานบ่อยๆ หลายมื้อแทน ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ พักผ่อนตามสมควร รักษาร่างกายให้อบอุ่น ถ้ามีไข้ให้เช็ดตัวและกินยาลดไข้ ถ้าไอให้ดื่มน้ำมากๆ หรือจิบน้ำผึ้งผสมมะนาว และทำความสะอาดไม่ให้น้ำมูกอุดตันในจมูก กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น หายใจเร็ว หอบ ควรไปพบแพทย์


ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นโรคที่พบเป็นสาเหตุอันดับแรก ๆ ของอาการไข้ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย ส่วนมากจะพบในช่วงฤดูฝน (เดือนกรกฎาคม-ธันวามคม) ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้อย่างทันทีทันใด คือไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอ น้ำมูกใส ไอแห้ง ๆ อาการแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ ปอดอักเสบ

 

สภาวะหลังภัยจากคลื่นสึนามิ ไข้หวัดใหญ่มีโอกาสระบาดในศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ เนื่องจากสภาวะอากาศเย็น และประชาชนอยู่กันอย่างแออัด ผู้ที่มีความเสี่ยงจะป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจ

การดูแลปฏิบัติตัว และรักษาตามอาการเหมือนไข้หวัด คือ นอนพักมากๆ ห้ามตรากตรำงานหนัก ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว เวลามีไข้สูงรับประทานอาหารอ่อน ดื่มน้ำและน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้มากๆ ให้ยาลดไข้แก้ปวด (ในเด็กควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน) ยาแก้ไอ เป็นต้น ถ้ามีอาการหอบ โดยเฉพาะถ้าพบในคนสูงอายุหรือเด็กเล็ก ควรรีบไปพบแพ

ทย์
 

โรคปอดบวม

 

โรคปอดบวม เกิดได้จากเชื้อหลายชนิด เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด ทำให้มีการอักเสบของปอด โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ไอและหายใจหอบ ในเด็กเล็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดิน อาเจียนกระสับกระส่าย หรือชัก

 

ผู้ที่ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ หากมีการสำลักน้ำทะเลเข้าไปในปอด ก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคปอดบวมขึ้นได้ นอกจากนี้การที่ประชาชนอาศัยอยู่กันอย่างแออัด ประกอบกับสภาวะอากาศ อาจทำให้มีโอกาสเป็นโรคปอดบวมได้ง่ายขึ้น

 

การป้องกันโรค ได้แก่ พักผ่อนตามสมควร รักษาร่างกายให้อบอุ่น ถ้ามีไข้ให้เช็ดตัวและกินยาลดไข้ ถ้าไอให้ดื่มน้ำมากๆ หรือจิบน้ำผึ้งผสมมะนาว หากเริ่มมีอาการข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์

โรคหัด

 

เป็นโรคที่มักเป็นกับเด็กเล็ก 9 เดือนถึง 6 ปี ติดต่อโดยทางหายใจ น้ำลายที่ออกจากปาก คอ อาการนำเริ่มต้นด้วยเด็กจะมีอาการงอแง กระสับกระส่าย ปวดตามตัว น้ำมูกไหล ตาจะแดงและแพ้แสง ไอแห้งๆ มีอาการไข้สูง หลังมีไข้ 3-4 วันจะไอมากขึ้น มีผื่นโดยผื่นขึ้นหน้าผาก และลามไปที่หน้า คอ และลำตัว เมื่อผื่นขึ้นอาการปวดเมื่อยจะดีขึ้น ไข้จะค่อยๆ ลง ผื่นจะใช้เวลา 3 วันลามจากศีรษะถึงขา และจะเริ่มจางที่ศีรษะก่อน ผื่นจะจางใน 7-10 วัน เหลือรอยดำ โดยทั่วไปโรคจะหายใน 10-14 วัน นับจากตั้งแต่เริ่มมีอาการวันแรก และสามารถไปโรงเรียนหรือทำงานได้หลังจากไข้ลง หรือผื่นหายไปแล้ว 7 วัน

 

ในสภาวการณ์ที่เด็กอยู่ร่วมกันมาก มีโอกาสสูงที่จะเกิดการระบาดของโรค เราสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด ซึ่งโดยปกติจะมีการฉีดให้ในเด็กตามเกณฑ์อายุ แต่หากเด็กไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหรือประวัติการฉีดวัคซีนไม่แน่ชัด ก็จำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดนี้แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี

 

โรคตาแดง

 

เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตา จากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วย ที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง ไม่ติดต่อทางการสบสายตา ทางอากาศ หรือทางรับประทานอาหารร่วมกัน

 

ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัส จะมีอาการตาแดง เคืองตา ตาขาวจะมีสีแดงเรื่อๆ น้ำตาไหล เจ็บตา มักจะมีขี้ตามากร่วมด้วย ต่อมน้ำเหลืองหลังหูมักเจ็บ และบวม มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วจะติดต่อมายังตาอีกข้างได้

 

การป้องกันโรค สามารถทำได้โดยล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่คลุกคลีใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของส่วนตัว ร่วมกับผู้ป่วยตาแดง ถ้ามีฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที อย่าปล่อยให้แมลงหวี่ หรือแมลงวันตอมตา หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ให้สะอาดอยู่เสมอ ผู้ป่วยโรคตาแดงควรหยุดเรียนหรือหยุดงานรักษาตัวอยู่ที่บ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้โรคตาแดงลุกลาม หรือติดต่อสู่ผู้อื่น

โรคติดต่อนำโดยแมลงที่สำคัญ

 

 
โรคไข้มาลาเรีย

 

เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดพลาสโมเดียม ติดต่อโดยยุงพาหะคือยุงก้นปล่องนำเชื้อมากัด ยุงในประเทศไทยที่เป็นพาหะหลักพบได้ในพื้นที่ป่าเขาที่มีแหล่งน้ำจืดตามธรรมชาติ มักเข้ากัดคนในเวลากลางคืน หลังจากได้รับเชื้อแล้ว 7-10 วันจะเริ่มมีอาการไข้ ปวดศีรษะ หรือเป็นไข้จับสั่นซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ และอาจเจ็บป่วยถึงชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมทันท่วงที

 

ความเสี่ยงต่อไข้มาลาเรียในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบของคลื่นสึนามิ พื้นที่ชายฝั่งติดหรือใกล้กับทะเลไม่มีความเสี่ยง ยกเว้นบริเวณป่าเขาลึกเข้าไปในบางพื้นที่ของจังหวัดระนอง พังงาและกระบี่มีความเสี่ยงต่อไข้มาลาเรียได้บ้าง เนื่องจากยังมียุงพาหะโดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดที่มีแรงงานต่างด้าวซึ่งป่วยเป็นไข้มาลาเรียอาศัยอยู่ การอพยพเคลี่อนย้ายของประชาชนไปสู่พื้นที่ป่าเขาลึกเข้าไปในแผ่นดินซึ่งเคยมีการพบผู้ป่วยมาลาเรียเช่น อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฏ์รธานี อาจต้องเตรียมการป้องกันควบคุมโรคล่วงหน้า โดยเฉพาะการป้องกันตนเองโดยให้ประชาชนใช้มุ้งกางนอน

 

โรคไข้เลือดออก

 

มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ยุงตัวเมียออกหากินเวลากลางวันและดูดเลือดคนเป็นอาหาร ยุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ยุงลายบ้านเพาะพันธุ์ในภาชนะขังน้ำต่างๆ เช่น โอ่งน้ำดื่มและน้ำใช้ จานรองขาตู้กันมด ไห ถังน้ำมัน แจกัน ยางรถยนต์เก่า เป็นต้น ส่วนยุงลายสวนจะพบในแหล่งที่มีน้ำขังตามธรรมชาติ เช่น โพรงไม้ กาบใบของพืชหลายชนิด (กล้วย พลับพลึง บอน ฯลฯ) กระบอกไม้ไผ่ที่มีน้ำขัง รวมทั้งกะลามะพร้าว ถ้วยรองน้ำยางพารา เป็นต้น

 

พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากคลื่นสึนามิ จะมีซากปรักหักพังของบ้านเรือนและอาคาร ตลอดจนเศษวัสดุและขยะแห้งจำนวนมาก ซึ่งหากมีน้ำจืดหรือน้ำฝนขังอยู่ จะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายบ้านได้ สำหรับโพรงไม้และโพรงหินที่มีน้ำจืด ก็อาจมียุงลายสวนไปวางไข่ไว้ ควรทยอยเก็บทำลายเศษวัสดุ และในขณะเดียวกันควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประสบภัยที่อาศัยอยู่ ณ ที่พักพิงชั่วคราว ช่วยกันรักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อม ไม่ทิ้งขยะเกลื่อนกลาด และป้องกันตนเองอย่าให้ถูกยุงลายกัด หากมีไข้สูง แต่ไม่มีอาการของหวัด (ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก) ให้รีบไปพบแพทย์ ถ้าจำเป็นต้องรับประทานยาลดไข้ ให้รับประทานยาพาราเซตามอล การป้องกันและควบคุมโรคเฉพาะหน้าในพื้นที่เริ่มมีปัญหา คือการพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย และควรทำควบคู่ไปกับการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในระยะยาว

ข้อแนะนำในการปฏิบัติและป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากยุง

 

  1. เร่งกำจัด เก็บกวาดขยะ ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

     

  2. ป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัด โดยนอนในมุ้ง ทายากันยุง

     

  3. กรณีมีไข้ หากอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าเขาให้คิดถึงไข้มาลาเรียและรีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา

     

 

แมลงและสัตว์พาหะนำโรคที่อาจเป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ประสบภัย

 

ชนิดแมลง/สัตว์

 

โรค/ปัญหาสาธารณสุข

 

การป้องกันและควบคุมโรค

 

ยุงชนิดต่างๆ

 

 

 

แมลงวัน

 

 

 

 

 

แมลงสาบ

 

 

 

 

ริ้นน้ำเค็ม

 

 

 

แมลงหวี่

 

 

เหา

 

 

เรือด

 

 

 

เห็บ

 

 

หมัดจากหนู/
สัตว์ฟันแทะ

 

มาลาเรีย ไข้เลือดออก
ไข้สมองอักเสบ เท้าช้าง

 

 

โรคอุจจาระร่วง บิด ตาแดง
ไทฟอยด์ ริดสีดวงตา

 

 

 

 

โรคอุจจาระร่วง บิด อหิวาต์
โรคติดเชื้อซัลโมเนลลา

 

 

 

กัดเจ็บ ผิวหนังอักเสบจากการเกา

 

ก่อความรำคาญ

 

 

ก่อความรำคาญ

 

 

ไข้รากสาดใหญ่ ไข้กลับซ้ำ

 

 

กัดดูดเลือด ผิวหนังอักเสบ
จากการเกา

 

 

ไข้จากเชื้อ ริคเกตเซีย ไข้กลับซ้ำ

 

 

สครับไทฟัส โรคฉี่หนู
โรคติดเชื้อซัลโมเนลลา

 

§ นอนในมุ้ง ทายากันยุงกัด ควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์

 

 

 

§ ล้างมือ รับประทานอาหารสะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ
ดื่มน้ำสะอาด

 

§ ปกปิดอาหารและภาชนะไม่ให้แมลงวันตอม
กำจัดขยะมูลฝอย

 

 

§ รักษาความสะอาดโดยเฉพาะห้องครัว พื้นที่ประกอบอาหาร

 

§ ปกปิดถังขยะและกำจัดขยะมูลฝอย

 

 

§ นอนในมุ้ง ทาสารไล่แมลง

 

 

 

§ ปกปิดอาหารไม่ให้แมลงหวี่มาตอม

 

 

§ รักษาอนามัยส่วนบุคคล

 

 

§ รักษาอนามัยส่วนบุคคล เตียงนอน ที่นอน ฯลฯ

 

 

 

§ รักษาอนามัยส่วนบุคคล ทาสารไล่แมลง

 

 

§ ปกปิดถังขยะและกำจัดขยะมูลฝอย เศษอาหาร กำจัดหนู

 

 


ศูนย์ประสานงานป้องกันควบคุมโรคหลังภัยคลื่นสึนามิ
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข : 5 มกราคม 2548
บทความ: