สมาธิ การฝึกจิต

สมาธิ และการฝึกจิต สำหรับบุคคลในชีวิตประจำวัน กลุ่มบุคคลต่างวัย เช่น เด็ก ผู้ใหญ่
Taxonomy upgrade extras: 

เรื่องการทำสมาธิ สำหรับคนไทยแล้ว เหมือนสิ่งใกล้ตัว ที่ไม่มีความเร้าใจ ไม่น่าตื่นเต้นอะไร แต่สำหรับโลกตะวันตก‘สมาธิ’กลับกลาย เป็นสิ่งสำคัญ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ โดยเฉพาะสถาบันวิทยาศาสตร์และสถาบันทางการแพทย์หลายแห่ง พบว่าสมาธินั้นช่วยให้ผลการรักษาทางการแพทย์ดีขึ้น เช่น ช่วยให้การให้ยาทางแผนปัจจุบันนั้นส่งผลต่อผู้ป่วยดีขึ้น หรืออย่างสถาบันทางจิตวิทยาก็พบว่า สมาธิช่วยทำให้ลดอาการวิตกกังวลและป้องกันภาวะตึงเครียด

นอกจากที่กล่าวมานี้ ยังมีสถาบันด้านการแพทย์และสถาบันวิจัยอีกมากมายกำลังเร่งค้นคว้าและวิจัยกันเป็น การใหญ่ หรือแม้กระทั่งกลุ่มนักบริหาร นักการจัดการ ฯลฯ

แม้ว่าจะมีแพทย์แผนปัจจุบันบางส่วนในตะวันตก ต่อต้านการรักษาด้วยการนั่งสมาธิ แต่ก็มีแพทย์บางส่วนที่เห็น ด้วยกับการนั่งสมาธิ นอกจากนั้นก็เริ่มเห็นผลอันน่าพึงพอใจจากการทดลองหลายตัวอย่าง เช่นเดียวกับที่ ซารา ลาซาร์ นักวิจัยด้านประสาทวิทยา จากฮาร์วาร์ด เมดิคอล สกูล( Havard MedicalSchool) เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซส กำลังทำการวิจัยอย่างต่อ เนื่อง

“ความหวังของเราคือ พยายามจะหา หลักฐานที่จะมายืนยันในเรื่องประโยชน์ของการทำสมาธิ ซึ่งจะทำให้คนส่วนใหญ่ อย่างน้อยได้ลองมาฝึกหรือทดลองนั่งสมาธิดูว่ามันให้ประโยชน์แก่เขาอย่าง ไร” ซาร่า กล่าว พร้อมกันนี้เธอได้นำเสนอผลงานวิจัยของเธอในงานประชุมประจำปีของสมาคมนักประสาทวิทยาแห่งกรุงวอชิงตันดีซี เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งองค์ดาไล ลามะให้เกียรติเข้าร่วมประชุมในครั้งนั้นด้วย


เธอได้กล่าวไว้ในที่ประชุมว่า การทำสมาธิสามารถที่จะช่วยเปลี่ยนระบบโครงสร้างและหน้าที่ของสมอง อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายด้วย

สมาธิช่วยให้เพิ่มขนาดสมอง
นอกจากซาร่าจะทำวิจัยดังที่กล่าวมาแล้ว เธอยังได้ทดลองร่วมกับนักวิจัยต่างสถาบัน โดยมีมิเชล เทรดเวย์ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิจัยจากมหาวิทยาลัยเยล พร้อมด้วย ชาร์รูติ จักรปามิ เจ้าหน้าที่เทคนิค จากสถาบันเทคโนโลยี แห่งแมสซาชูเซส และนับว่าเป็นครั้ง แรกที่ได้ค้นพบหลักฐานยืนยันว่าสมาธิสามารถเปลี่ยนรูปร่างและโครงสร้างของสมอง ซึ่งการทดลองในครั้งนี้ได้ใช้เครื่องสแกนนำมาตรวจวัดกับผู้ที่ฝึกสมาธิ


นอกจากนั้นยังพบว่าโครงสร้างสมอง มีความหนาขึ้น โดยเฉพาะประสาทส่วนที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสและการรับรู้ และส่วนที่เกี่ยวข้องกับความ สนใจ


นักวิจัยได้ทำการทดลองโดยมีการ เปรียบเทียบระหว่างผู้ฝึกปฏิบัติสมาธิทั้งแบบเจริญสติภาวนาและแบบฝึกโยคะ จำนวน 20 ท่าน และผู้ที่ไม่เคยฝึกสมาธิแบบใดๆเลยอีก 15 ท่าน ซึ่งมาจากอาชีพหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น พยาบาล นักกฎหมาย นักหนังสือพิมพ์ สำหรับผู้ที่ฝึกสมาธินั้นจะไม่ใช้ผู้ที่เป็น พระหรือนักบวช แต่จะใช้คนทั่วไปที่ฝึกปฏิบัติสมาธิ ช่วงที่สแกนสมองนั้น นักวิจัยจะให้ผู้ปฏิบัติสมาธิฝึกสมาธิกันไป ส่วนผู้ที่ไม่ใช่นักปฏิบัติสมาธิก็ให้ผ่อนคลาย และคิดอะไรก็ได้ไปตาม ที่เขาปรารถนา


“ในการศึกษาวิจัยนั้น กลุ่มผู้ปฏิบัติ สมาธิ จะนั่งสมาธิ 40 นาทีต่อวัน แต่บางคนนั้นก็ฝึกมาแล้วเป็นปีๆ และมีบางคนอีกเช่นกันที่เคยฝึกสมาธิมาแล้ว และฝึกต่อเนื่องมาเป็นสิบๆปี นอกจาก นั้นยังมีการฝึกแบบขั้นลึกซึ้ง ซึ่งจะมีการวัดด้วยระบบค่าเฉลี่ยของการหายใจในหมู่ผู้ที่ปฏิบัติสมาธิอย่างลึกซึ้งจะพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากกับโครงสร้างสมอง” ซาร่าสรุป
สำหรับตัวซาร่า เธอสนใจเรื่องการนั่งสมาธิมาประมาณ 10 ปีแล้ว และปัจจุบันเธอก็ฝึกถึงขั้นวิปัสสนากรรมฐาน สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ซึ่งทีแรกเธอไม่ แน่ใจว่ามันจะได้ผล


“แต่ฉันก็ได้บทสรุปจากประสบการณ์ของตัวเองว่ามันช่วยให้คลายความวิตกกังวล อีกทั้งยังเพิ่มให้ความ คิดนั้นแจ่มชัดและกระจ่างมากขึ้น นอกจากนั้นก็มีความอดทนและอดกลั้นต่อความกดดัน และความยุ่งยากของสถานการณ์ต่างๆได้เป็นอย่างดี”


สำหรับการวิจัยชิ้นนี้ยังไม่จบเพียง เท่านี้ เพราะมีหลายคำถามที่ยังรอคำตอบ ไม่ว่าจะเป็นผลของการที่โครง สร้างสมองเพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อความนึกคิด พฤติกรรมในชีวิตประจำวันอย่างไร หรือผลเกี่ยวเนื่องระหว่างเซลล์สมองกับเส้นเลือดต่างๆว่าจะเกี่ยวข้องกันไหม รวมทั้งจะมีส่วนช่วยเชื่อมโยง การสื่อสารระหว่างสติปัญญากับอารมณ์หรือไม่ หากจะให้ได้มาซึ่งคำตอบเหล่า นี้ทั้งหมด จะต้องทำการศึกษากันอีกเป็นโครงการใหญ่ ซึ่งเวลานี้ทางโรงพยาบาลแมสซาชูเซส กำลังวางแผนที่จะทำวิจัยต่อไปในอนาคต

สมาธิชะลอความแก่
ส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่พบว่าการทำสมาธิมีผลต่อความหนาขึ้นหรือบาง ลงของโครงสร้างสมองแล้ว การทำสมาธิยังช่วยให้ชะลอความแก่ อีกทั้งยังทำให้กลับมาดูหนุ่มขึ้นสาวขึ้นได้ด้วยเนื่องจากว่า การทำสมาธิไปช่วยทำให้จิตคิดไปแต่ในเรื่องที่เป็นทางบวก
ในเรื่องดังกล่าวนี้ ซาร่า นักวิจัยจากฮาร์วาดเตือนว่าแม้ว่าการทำสมาธิจะมีส่วนในเรื่องนี้ก็จริง แต่จะต้องจำไว้อย่างหนึ่งว่า พระหรือโยคีทั้งหลายก็ยังต้องประสบกับโรคภัยไข้เจ็บและความชราเป็นของธรรมดาเหมือนกับเราๆท่านๆ และเขาเหล่านั้นก็จะต้องมีวันแก่และตายเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาเหล่านั้นก็มีสติ และมีความ สงบ อีกทั้งยังมีความจำที่ดีอีกด้วย

ช่วยให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลายและสงบ
ในรูปแบบชีวิตความเป็นอยู่ที่วุ่นวาย ดังเช่นปัจจุบัน ความเร่งรีบของชีวิต ความจำเป็นด้านการงานและชีวิตครอบครัว ทำให้หลายต่อ หลายคนเกิดความเครียด ขึ้นในจิตใจ และก็ส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านร่างกายตามมา และหนึ่งในสาเหตุของความเครียดต่างๆ ก็เกิดขึ้นมาจาก ‘จิต’ ของเราเอง ดังนั้นทางออก ที่ดีที่สุดก็ต้องกลับไปแก้ที่ ‘จิต’ของเรา และวิถีทางที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาทางจิตก็คือ ‘การทำสมาธิ’


ชาวตะวันออกรู้ดีในสิ่งเหล่านี้มาช้า นาน ส่วนทางตะวันตกนั้นสมาธิได้รับความสนใจจากเหล่าบรรดาผู้มีชื่อเสียง ในตะวันตกตั้งแต่ยุค 60 สมัยเดอะ บีทเทิล หรือที่เรารู้จักกันดีว่าวงดนตรีสี่เต่าทอง ซึ่งหันไปสนใจรูปแบบการทำ สมาธิและโยคะจากทางประเทศอินเดีย


สำหรับรูปแบบต่างๆที่จะใช้ในการทำสมาธิมีอยู่มากมายหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการฝึกสมาธิแบบธรรมดากำหนดลมหายใจ หรือจะเป็นการวิปัสสนา เจริญภาวนา รวมทั้งการฝึกโยคะ
ชารอน ฟลีอิเชอร์ ครูสอนศิลปะจากนิวยอร์ค ได้หันมาฝึกการทำสมาธิ เพื่อให้เธอใจเย็นลงในการที่จะจัดการกับปัญหายุ่งยากต่างๆของเด็กๆในห้องเรียนเธอได้


“ฉันต้องการทางออกที่จัดการกับปัญหาความท้อแท้ใจและความยุ่งยาก ใจต่างๆให้ได้ เพราะฉันไม่ต้องการที่จะไปลงกับเด็กๆเหล่านั้น” เธอเล่า
เพื่อนของเธอแนะนำให้เธอไปฝึกวิปัสสนาที่ศูนย์ฝึกวิปัสสนาดิแพมการา เมืองฮันติงตัน เธอรับคำแนะนำนั้น และสามปีให้หลัง เธอไม่ได้เป็นเพียง นักเรียนที่ฝึกสมาธิวิปัสสนาเท่านั้น แต่ทุกวันนี้ เธอกลายเป็นผู้อำนวยการและดูแลด้านบริหารของศูนย์ไปแล้ว


เธอบอกว่าสมาธินั้นได้เปลี่ยนแปลงประสบการณ์ต่างๆ ของเธอ ทั้งในห้องเรียนและความสัมพันธ์ระหว่างผู้อื่น ปัจจุบันชารอนอายุ 48 ปี เธอบอกว่า เธอมีความอดทนมากขึ้น และก็ยอมรับสิ่งต่างๆได้มากขึ้น และพร้อมที่จะเข้าใจจิตใจของคนอื่น


ปัจจุบันผู้คนที่พักอาศัยย่าน ลองไอซแลนด์ โดยเฉพาะคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ได้หันมาฝึกสมาธิกันมากขึ้น เพื่อที่จะใช้ในการแก้ปัญหาความเครียด และปัญหาสุขภาพต่างๆ และก็มีอีกบ้างเช่นกันที่ต้องการฝึกสมาธิถึงขั้นสูงหรือบางคนก็ต้องการเพียงแค่ให้รู้ แต่อย่างไรก็ตามการฝึกสมาธิก็ยังเป็นที่สับสนกันในวิธีคิดแบบชาวตะวันตกอยู่มาก

สมาธิในที่ทำงาน
สำหรับโรเบิร์ต เซโกลวิช ทนายความจากสำนักงานทนายแห่งเลียวนาร์ด ในสหรัฐอเมริกา ฝึกสมาธิแบบเซนมากว่า 10 ปี นอกจากนั้นเขาก็ยังสอนสมาธิในสำนักงานกฎหมายที่เขา ทำอีกด้วย และทุกวันนี้เขาก็มีชั้นเรียน เพิ่มขึ้นจากแต่ก่อน ซึ่งมีเพียงแค่ชั้นเดียว คือปัจจุบันต้องแบ่งเป็นสามชั้น เขาทำสมาธิในที่ทำงานในช่วงเวลาอาหารกลางวันเป็นประจำ นอกจากนั้น เขาก็ยังสอนการนั่งสมาธิ การคลายความวิตกกังวล และคลายความเครียด ในรูปแบบของการที่ไม่ใช้ศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง


สำหรับรูปแบบการฝึกตัวรู้ที่เขาใช้โดยเฉพาะนั้น คือการตั้งเป้าหมายใน แต่ละขณะ โดยปราศจากการวินิจฉัย หรือแสดงความเห็นใดๆทั้งสิ้น “มันเป็นการรับรู้ประสบการณ์ที่เราเผชิญ อยู่ในเวลานั้น หรือขณะนั้นว่าอะไรที่เกิดขึ้น โดยปราศจากการตัดสิน หรือออกความเห็นต่างๆ ไม่ว่า ‘นั้นดี’ หรือ ‘นั้นไม่ดี’ หรือ ‘ถ้าอย่างนั้น หรือ ถ้าอย่างนี้’ หรือ ‘ฉันน่าจะเปลี่ยนอย่างนั้นอย่างนี้’ หรือแม้แต่ ‘ฉันต้องการสิ่งนั้นเพิ่ม สิ่งนี้เพิ่ม’ ฟังดูเหมือนง่าย แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ต้องการการฝึกฝนทุกวัน” โรเบิร์ต กล่าว


โรเบิร์ตคือผู้หนึ่งที่ทำงานในอเมริกาและพยายามฝึกฝน และใช้ปรัชญาตะวันออกในการจัดการกับความตึง เครียดในที่ทำงาน และโรเบิร์ตก็เชื่อมั่นว่าประโยชน์จากการฝึกฝนนี้สำคัญมาก และเขาก็เตรียมลาออกจากการเป็นทนาย เพื่อที่จะไปทำหน้าที่เป็นวิทยากร สอนด้านการฝึกสมาธิโดย ตรงให้กับบริษัทธุรกิจ ต่างๆ


นอกจากโรเบิร์ตแล้ว แชร์รี่ โทสเร่ย์ ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่พบว่าการศึกษาปรัชญาตะวันออกนั้นเข้ามามีบทบาทต่อเธออย่างมากในการฝึกอบรมสำหรับการทำ ธุรกิจระหว่างประเทศ
ปัจจุบันแชร์รี่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านธุรกิจของวิทยาลัยเซนต์แคนเทอร์ลีน ในเมืองเซนต์ปอล นอกจากนั้นเธอก็ยังเป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจระหว่างประเทศและวัฒนธรรมข้ามชาติให้กับบริษัทการค้าใหญ่ๆ เช่น3 M, Pillsbury และ Ecolab


“ในการทำงานร่วมกับบริษัทต่างๆ ฉันจะไม่พูดถึงเรื่องพุทธศาสนาหรือ เต๋า แต่อย่างใด แต่พยายามที่จะพูดถึง รูปแบบและวิธีคิดมากกว่า ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้มีส่วนอย่างมากในความสำเร็จของการทำธุรกิจระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าใจพื้นฐานและกรอบของ วัฒนธรรมที่แตกต่าง....พยายามเข้าใจในสิ่งที่ตรงข้าม...และมีความตั้งใจที่จะเข้าไปให้ถึงความสามัญธรรมดา”


ส่วน ชาร่า เบล ฮาเบอร์แมน พบว่าบทเรียนของการทำสมาธิส่งผลให้เธอแก้ปัญหาในการที่จะต้องรีบเร่งตลอดเวลา รวมไปถึงความกดดันต่างๆ และความเครียดของการทำงานด้านการ ประชาสัมพันธ์ของเธอ


“ด้วยความตั้งใจในงานที่ทำ สำหรับฉันแล้วมันเป็นการตระหนักรู้เรื่องลมหายใจเข้าออก และการวางเซ็นเตอร์ให้ กับตนเองทุกครั้งไม่ว่าจะรับโทรศัพท์ หรือเข้าประชุม” ชาร่าเล่า
ชาร่าทำงานเป็นเจ้าของบริษัทHaberman&Association ซึ่งนอกจากเธอแล้ว สามีและพนักงานในบริษัทก็สนใจการทำสมาธิด้วยเช่นกัน


เราพยายามที่จะสูดลมหายใจลึกๆ กันทุกวัน” ชาร่ากล่าว


วิทยาศาสตร์ทุกวันนี้ก็มีการพิสูจน์ มากขึ้นและสามารถอธิบายได้ว่าทำไมการสูดลมหายใจลึกๆ ช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้น


นอกจากนั้นการทำสมาธิก็ยังช่วยเหลือในด้านต่างๆ อีกมากมายดังที่ได้ กล่าวไปแล้วในตอนต้น ไม่ว่าจะเป็น การช่วยทำให้ความจำดีขึ้น ช่วยเรื่องการลดอารมณ์โกรธฉุนเฉียวรุนแรงและช่วยลดความหดหู่ซึมเศร้า นอก จากนั้นก็ไม่ทำให้เจ็บป่วยง่า


จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมผู้คนทางตะวันตกถึงให้ความสำคัญกับการฝึกสมาธิวิปัสสนากันขนาดนี้ เพราะเขามิ ได้เพียงแต่ฝึกเท่านั้น แต่ยังนำเอามา ใช้ให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพในการเยียวยาทุกๆ ด้านและผลก็เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า สมาธิที่เกิดจากการภาวนา ยุบหนองพองหนอ พุท-โธ หรือการวิปัสสนาแบบกำหนดลมหายใจ กำหนดจิตนี่แหละ คือยาที่เข้าไปแก้ปัญหาที่ต้นเหตุโดยแท้


แต่ก็น่าแปลกใจว่า คนตะวันออก อย่างเราๆ ที่คุ้นเคยกับการฝึกสมาธิกันมาอย่างดี กลับไม่ค่อยมีใครนำเอา ‘ยาวิเศษ’(การทำสมาธิ)ขนานนี้ ที่ไม่เคย หมดอายุ มาปรับใช้กับการแก้ปัญหาชีวิตและการทำงาน ให้แพร่หลายกันบ้าง!

ดีมากครับ

ในแต่ละวันเวลาอย่าให้เสียเปล่า ขอสัก 1 นาที นั่งนิ่งๆ หายใจลึกๆ กลั้นลมหายใจเล็กน้อย แล้วค่อยๆผ่อนลมออก ดูลมอ่อน / แรง อย่างไร แค่นี้ก็เป็นกุศลค่ะ รักษาโรคได้ด้วยค่ะ ไม่ยากเลย ลองทำดูน่ะค่ะ อยู่ที่ไหนก็ทำได้ อนุโมทนาบุญ ด้วยค่ะ

การฝึกสมาธิเป็นสิ่งที่วิเศษมากค่ะ  ขอชื่นชมและอนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

บทความเรื่องนี้ดดมากครับ

suwit warawutthikunphong's picture

ลองฝึก...ค่อยทำวันละนิดหน่อย แล้วจึงเพิ่มเวลาเอา นานวันเข้าท่านก็จะมีความชำนาญ และจะพบความสุขทางใจ ต้องทำบ่อยๆทำให้ติดเป็นนิสัย เหมือนว่าท่านไม่ได้ทำแล้ว ท่านจะไม่สบายใจ จะต้องทำก่อนนอน เพื่อสร้างความเคยชิน ทุกอย่างก็ต้องมีการเริ่มต้น นับหนึ่งก่อน ถ้าท่านเก่ง จะนับพันลงมาหาหนึ่งก็ไม่ผิด เป็นเทคนิคการทำสมาธิ เป็นกุสโลบาย ที่จะต้องความคุมจิตให้อยู่กับที่ หากจิตสงบใจก็เป็นสุข แต่จิตไม่สงบมันก็ทำให้เราฟุ้งซ่าน เพ้อเจ้อ คิดไปเรื่อยเปื่อย ต้องระวัง! ขออนุโมทนากุศลผลบุญกับทุกท่านที่จะเริ่มต้น ในการทำสมาธิ ขอให้มีความสุข มีมรรคผล ในการที่ท่านกำลังทำโชคดีมีความสุข

เห็นด้วยว่าการฝึกสมาธิทำให้คนฉลาดและมีความอดทนกับเรื่องราวร้ายๆมากขึ้น

ทำให้รู้จักตัวเอง....รู้จักโลกสมมุติใบนี้ดีขึ้น

จนสามารถปล่อยวางอารมณ์อันไม่พึงปรารถนาได้

 

การฝึกสมาธิ ต้องใช้เวลา แรกๆต้องศึกษาทางด้านทฤษฎีก่อน ต่อมาก็ฝึกปฎิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำทุกวัน จะใช้เวลาใดก็ได้ที่เห็นว่าสะดวก

เห็นด้วยครับ สมาธิ สติ และปัญญา คือ คือยาวิเศษ ทำให้เราพ้นจากเทวดาปัญญาอ่อน ทำให้พบความสุขโลกนี้และโลกหน้า
 
ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ฝึกจิตสมาธิ อนุโมทนาสาธุ

เรื่องตาที่ 3 บางทีบางคนก็มีอยู่แล้ว แต่ยังไม่รู้ตัว อย่างตัวผู้เขียนเมลล์เองเพิ่งรู้ไม่นานนี้เอง  ไม่รู้ตัวมาก่อนว่าตัวเองผิดจากคนอื่น

ใช้เพราะความเคยชิน แล้วคิดว่าคนอื่นก็ทำได้

Pages