สมาธิ อารมณ์ การแสดงออก

			การทำสมาธิส่งผลถึงสมอง การแสดงออกและอารมณ์ให้พัฒนาในด้านดี 
			

วิทยาศาสตร์ทางจิต


 อวัยวะในสมอง มีลักษณะของไฟฟ้าเคมี คือ ใช้พลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการทำงานและส่งกระแสพลังงานออกมาเป็นคลื่นสมองใน 4 คลื่นความถี่จากมากไปน้อยคือ Beta Alpha Theta Delta

เมื่อเราเริ่มทำสมาธิจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองให้มีความถี่คลื่นลดลงจากภาวะปกติ เบต้า ลดลงสู่อัลฟรา และเข้าสู่เธต้า ในภาวะคลื่นสมองเข้าสู่ระดับเธต้านั้นเป็นภาวะที่เกิดความอัศจรรย์ทางจิต เช่น การเห็นภาพต่างๆ การเกิดจิตออกจากร่างกาย การเกิดพลังจิตพิเศษต่างๆที่เมืองนอกเรียกว่า ESP  ซึ่งการควบคุมคลื่นสมองเข้ามาในระดับนี้โดยปกติต้องได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี

ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ neuroscientist ได้ใช้เทคนิคใหม่ๆในการค้นคว้าความเกี่ยวเนื่องของสมองและการทำสมาธิที่ส่งผลให้จิตใจมีความสุขและมีอารมณ์ในด้านดี 

University of Wisconsin at Madison ได้ค้นคว้า ตรวจสอบจากผู้ฝึกสมาธิตามแนวพุทธศาสนาพบว่า สมองมีการพัฒนาในบางส่วนเป็นพิเศษซึ่งสมองส่วนที่พัฒนานี้เป็นส่วนที่มีผลกับ อารมณ์ด้านดี การควบคุมตัวเองและอารมณ์

University of California San Francisco Medical Center แนะนำว่า การทำสมาธิสามารถควบคุมสมองส่วนที่ทำให้เกิดความกลัวได้ และพบว่า คนที่นับถือและปฏิบัติตามแนวศาสนาพุทธจะมีความกลัว ความตกใจ ความโกรธ น้อยกว่าคนทั่วไป

แอนดรู นิวเบอร์ก radiologist at the University of Pennsylvania ทำการวิจัยกับนักบวชธิเบต โดย

1.ให้นักบวชเข้าสมาธิประมาณ 1 ชั่วโมงเพื่อให้เข้าสู่สมาธิขั้นลึกแล้วจึงฉีดสารกัมมันตภาพรังสีจำนวนเล็กน้อยเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้สามารถตรวจวัดได้ว่าขณะทำสมาธินั้นส่วนไหนของสมองที่ทำงาน

2.ตรวจแบบเดียวกันแต่เป็นในขณะที่ทำงานปกติ ไม่ได้ทำสมาธิ
เมื่อนำมาเปรียบเทียบพบว่า ขระทำสมาธิ สมองส่วนหน้าจะมีการทำงานมากเป็นพิเศษ และสมองส่วนหลังทำงานน้อยลง ( parietal lobe) ทำให้รู้สึกถึงความว่าง ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า ทำไมเวลาทำสมาธิ จึงเกิดการรู้สึกสัมผัสน้อยลง และเกิดการรับรู้น้อยลงในเรื่องสถานที่และเวลา

เกี่ยวกับ ผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ที่ยืนยันถึงข้อเสียของ อารมณ์ที่ไม่ดี และข้อดี ของการเจริญสติ สมาธิ ---------------------------------------------------------- ".........มีข้อมูลที่ผมคิดว่าน่าสนใจมาก นักวิทยาศาสตร์ของสถาบัน HeartMath ของด็อก ชิลเดร ที่กำลังโด่งดังมากในขณะนี้ ที่ชื่อโรลลิน แมคเครที่ได้ทำการวิจัยตรวจวัดค่าโปรตีน IgA ในน้ำลาย ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน พบว่าเมื่อผู้เข้าร่วมทำการวิจัยโกรธหนึ่งครั้ง จะทำให้เจ้า IgA นี้มีค่าลดลง (นั่นหมายถึงภูมิต้านทานของร่างกายลดลง) ไปอย่างน้อยครึ่งหนึ่งและเมื่อตรวจค่า IgA เมื่อเวลาผ่านไป 6 ชั่วโมง ค่า IgA นี้ก็ยังไม่กลับคืนมาสู่ค่าปกติด้วยซ้ำไป ในทางตรงกันข้ามในงานวิจัยเดียวกันนี้ คนอีกกลุ่มหนึ่งได้ทำการฝึกเรื่องของการดูแลอารมณ์ที่ถูกต้องโดยใช้เทคนิคที่เรียกว่าFreeze Frame ซึ่งมีหลักการฝึกง่ายๆ ดังนี้คือ ทุกครั้งที่รู้สึกโกรธหรือหงุดหงิดให้ลองปิดหรือหยุดความคิดที่สมองเสมือนหนึ่งเป็นกล้องวิดีโอที่กดปุ่ม Pause แล้วนำความคิดไปจับที่หัวใจตรงบริเวณทรวงอกด้านซ้ายแทน ให้รู้สึกถึงความรู้สึกอุ่นๆ พร้อมกับจังหวะการเต้นของหัวใจของเรา อะไรประมาณนี้ การทดลองครั้งนี้สถาบันHeartMathพบว่าค่า IgA ในผู้ทำการทดลองมีค่าสูงขึ้นกว่าเดิมหนึ่งเท่าตัวและอยู่นานถึง 6 ชั่วโมง ในขณะที่บางรายค่า IgA นี้วัดได้สูงถึง 240% ของค่าปกติ งานวิจัยนี้ชี้ชัดเจนครับว่า แค่โกรธหนึ่งครั้งภูมิต้านทาน (เพียงหนึ่งตัวในหลายร้อยหลายพันตัว) ของคุณเฉพาะที่วัดได้งานวิจัยนี้จะลดลงไปอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ไม่ต้องนับถึงภูมิต้านทานตัวอื่นๆ ไม่ต้องนับถึงประสิทธิภาพในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ไม่ต้องนับถึงอะไรอีกจิปาถะที่เรายังไม่ได้วัด หรือวัดไม่ได้ ฯลฯ เพื่อความเข้าใจง่ายๆ ผมอยากจะสรุปในท่อนนี้ก็คือว่า ในร่างกายของเรานั้นมีระบบการทำงานที่เป็นวงจรบวก (ได้แก่ฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินและอื่นๆ อีกหกสิบกว่าชนิด) และเป็นวงจรลบ (ได้แก่อะดรีนะลีน คอร์ติซอลและอื่นๆ )ด้วยความเป็นอัตโนมัติของทุกอย่างที่เคยชินทำให้คนสมัยใหม่นั้นไม่ได้ใส่ใจ ไม่รู้ตัวว่าตัวเองเข้าไปสู่วงจรของการทำงานที่เป็นระบบลบ แต่ความมหัศจรรย์ของมนุษย์ก็คือ มนุษย์สามารถเลือกได้ที่จะเปลี่ยนวงจรตัวเองเป็นวงจรบวกได้ และเมื่อฝึกตัวเองไปเรื่อยๆ การเข้าสู่วงจรบวกก็จะเป็นอัตโนมัติได้ด้วยเช่นกัน ความสำคัญก็คือ ความรู้ตัว -ลองมาคิดดูกันตอนนี้เลยนะครับว่า ในแต่ละวันนั้นคุณอยู่กับวงจรบวกกี่เปอร์เซ็นต์ อยู่กับวงจรลบกี่เปอร์เซ็นต์ ยิ่งคุณอยู่กับวงจรลบมากเท่าไร ก็จะยิ่งเกิดความเครียดและทำลายตัวคุณเองมากเท่านั้น คำถามที่ท้าทายคนสมัยใหม่ก็คือ เป็นไปได้หรือไม่ที่มนุษย์ผู้หนึ่งจะอยู่กับวงจรบวกตลอดเวลาทั้งวัน เป็นไปได้หรือไม่ที่ถ้าอยากจะแข่งขัน แข่งขันกันเข้าวงจรบวก แข่งขันกันสร้างเอ็นดอร์ฟิน จะดีกว่าแข่งขันกันสร้างวัตถุหรือสิ่งปรุงแต่งภายนอกที่โดยมากมักจะรังแต่ทำให้หลุดหรือติดกับดักกลับไปสู่วงจรลบ จะดีกว่าหรือไม่ วิธีการที่จะเข้าสู่ "สภาวะ" ที่เป็นวงจรบวก หรือมีเอ็นดอร์ฟินหลั่งนั้น ท่านผู้รู้บอกว่ามีอยู่ 84,000 วิธี สถาบัน HeartMath ได้เสนอวิธีการหรือเทคนิคสามอย่างที่จะช่วยให้เราเข้าสู่วงจรด้านบวก ได้แก่เทคนิคFreeze Frame, Cut-Thru, HeartLock-In ท่านที่สนใจอาจจะหาอ่านได้จากหนังสือ The HeartMath Solution ของ Doc Childre แต่นี่ก็เป็นเพียง 3 ใน 84,000 วิธีเท่านั้น ความจริงเทคนิคทั้งสามของHeartMath นั้นช่างละม้ายคล้ายคลึงกับการเจริญสติในพุทธศาสนาและปรัชญาทางตะวันออกแบบอื่นเช่นโยคะอย่างแทบจะแยกไม่ออกเลยทีเดียว ถ้ามีโอกาสผมอาจจะสามารถนำมาเสนอได้บ้างเป็นบางส่วนในครั้งต่อๆ ไป ....." จากคอลัมน์ จับจิตด้วยใจ นสพ มติชน

เกี่ยวกับ ผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ที่ยืนยันถึงข้อเสียของ อารมณ์ที่ไม่ดี และข้อดี ของการเจริญสติ สมาธิ//เรื่องนี้เป็นความจริงอารมณ์ไม่ดีทำให้เกิดโรคเพราะไปขวางทางเดินพลังปราณ พลังที่จะเข้าไปบำรุงอวัยวะนั้ไม่ได้ ทำให้อวัยวะทำงานไม่สดวก นานๆไปก็เลิกทำงาน และตอนนั้นก็รู้ว่าเป็นโรคเรื้อรัง เช่นถูกพ่อแม่ด่าให้กระเทือนใจมากๆตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น ถ้าตัดทิ้งไม่เป็น สะสมอยู่นานๆ มักจะมีผลออกมาทางระบบการหายใจเช่นหอบหืด การรักษาด้วยการแพทย์ปัจจุบันนานนับปีไม่บันเทา แต่ใช้การรักษาทางจิต อาจหายในครั้งเดียวก็ได้
suwit warawutthikunphong's picture

     การทำสมาธิ การฝึกจิตก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เราได้เกิดปัญญา ได้รู้และเข้าใจ เป็นหนทางนำความสุขที่แท้จริงมาให้เราได้ ขอให้ท่านลองทำดูนะ ไม่ว่าจะทำแบบใดตำราของใคร?ก็ได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่ที่ท่านแล้วว่า จะใช้จะทำหรือไม่ ไม่ทำไม่รู้! ไม่ลองก็ไม่เข้าใจ! ไม่ฝึกก็ไม่เป็น! ไม่ทำแล้วจะสำเร็จได้ไง? ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีการเริ่มต้น แล้วก็ต้องจบ! เป็นสัจจะธรรม ล้วนเป็นความว่างเปล่า? จงพิจารณานะว่าอะไรมันเกิดบ้าง?ในการทำสมาธิ ทำให้จิตเราพัฒนาขึ้นหรือไม่ ?  เราทำแล้วสบายใจมั้ย? เข้าใจในสิ่งที่กระทำหรือเปล่า? ล้วนแต่เป็นคำถามและท่านจะได้คำตอบเอง เมื่อท่านได้ทำและสนใจศึกษา

Sofia's picture