การจัดลำดับ ความหายาก พระโพธิญาณ
การจัดลำดับ ความหายาก ของพระโพธิญาณ
หากกล่าวถึง ความหายากของพระโพธิญาณรุ่นนี้ กล่าวได้ว่า ทุกแบบทุกเนื้อนั้นล้วนหาได้ยาก และโดยภาพรวมแล้ว พระเนื้อโลหะ จะหายากกว่า พระเนื้อผง
ปัจจัยหลักที่ทำให้พระรุ่นนี้หายาก เนื่องจาก ส่วนมากจะอยู่ในต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย สหรัฐอเมริกา โดยท่านเจ้าอาวาสได้นำปัจจัยทำบุญทั้งหมดกลับมาพัฒนาวัดหนองเลาจนมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว จึงไม่ค่อยพบพระรุ่นนี้หมุนเวียนในกลุ่มตลาดพระของคนพื้นที่ ส่วนชาวบ้านที่มีก็มักจะเก็บเงียบ ไม่ปล่อยหลุดมือโดยง่าย
เรียงลำดับ พระรุ่นนี้ที่มีจำนวนการสร้าง น้อย และ หายาก ตามลำดับ ได้แก่
หายาก ลำดับที่ 1. พระกริ่ง เนื้อทองคำ จำนวนสร้าง 3 องค์
หายาก ลำดับที่ 2. พระกริ่ง เนื้อเงิน จำนวนสร้าง 56 องค์
หายาก ลำดับที่ 3. พระเนื้อผงพิเศษ พิมพ์ใหญ่ (สีดำ) จำนวนสร้าง 300 องค์
หายาก ลำดับที่ 4 พระเนื้อผงพิเศษ พิมพ์เล็ก ( สีดำ)
หายาก ลำดับที่ 5 พระกริ่ง เนื้อนวโลหะ
หายาก ลำดับที่ 6 พระเนื้อผงพุทธคุณ โรยแร่ ( สีเขียว ) พิมพ์ใหญ่
หายาก ลำดับที่ 7 พระเนื้อผง ผสมว่าน ( สีแดง ) พิมพ์ใหญ่
หายาก ลำดับที่ 8 พระเนื้อผงพุทธคุณ โรยแร่ ( สีเขียว ) พิมพ์เล็ก
หายาก ลำดับที่ 9 พระเนื้อผงผสมว่าน ( สีแดง ) พิมพ์เล็ก
อันดับที่ 1 2 3 4 จัดว่าเป็นพระเครื่องที่มี จำนวนการสร้างที่น้อย และ หายากมากเป็นพิเศษ ใครมีไว้ในครอบครองถือว่าเป็นวาสนา หากปล่อยหลุดมือไปแล้ว ก็ยากที่จะมีโอกาสเป็นครั้งที่สอง เนื่องจากพระมีจำนวนน้อย หายากกว่าแบบอื่นๆ
อันดับที่ 5 พระกริ่งเนื้อนวโลหะ ถือว่าเป็นพระเครื่องที่พบเห็นได้น้อย หายาก แม้แต่คนในพื้นที่น้อยรายที่จะมีไว้ในครอบครอง
ลำดับที่ 6 7 8 9 สำหรับพระผงทั้งสีเขียวและสีแดงนั้น ลำดับความหายากจะใกล้เคียงกัน ไม่ห่างกันมากนัก
* โดยภาพรวมของพระเนื้อผง พิมพ์ใหญ่ จะหายากกว่า พิมพ์เล็ก พระพิมพ์ใหญ่ ทั้งสีเขียวและสีแดงมีอัตราทำบุญงานกฐินปี 42 ตั้งไว้สูงกว่าพิมพ์เล็กเนื้อเดียวกัน เป็นจำนวนสองเท่า
* เนื้อสีเขียว ปกติจะหายากกว่า เนื้อสีแดง เนื่องจาก สีเขียวทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก มีอัตราทำบุญงานกฐินปี 42 ตั้งไว้สูงกว่าสีแดงขนาดเดียวกัน เป็นจำนวนสองเท่า
* ลำดับที่ 6 พิมพ์ใหญ่ เนื้อเขียว จะโดดเด่นกว่าลำดับ 7 8 9 ขึ้นมาอย่างชัดเจน
* ส่วนอันดับที่ 7 และ 8 จะค่อนข้างก้ำกึ่งใกล้เคียงกัน ในกรณีนี้ ทางณกุศลจะให้ความสำคัญกับ ขนาด มากกว่าเนื้อมวลสาร จึงจัดให้ลำดับที่ 7 เป็นพิมพ์ใหญ่เนื้อแดง และ รองลงมาอันดับ 8 เป็นพิมพ์เล็กเนื้อเขียว
* เหตุผลที่ณกุศล ให้ความสำคัญกับขนาดมากกว่า เนื่องจากถึงแม้ทุกพิมพ์ทุกเนื้อจะมีกำหนดอัตราร่วมบุญไว้ แต่ด้วยความเมตตาของครูบาอาจารย์วัดนี้ ท่านมักจะแจกพระฟรีให้ญาติโยมที่มาวัด ดังนั้นพระพิมพ์เล็กจะถูกนำมาแจกในวาระสำคัญต่างๆ เช่น หลังจบงานกฐิน ปี 2542 มีการแจกพิมพ์เล็กเนื้อแดงฟรี ให้ชาวบ้านทุกคนที่มาวัด ดังนั้นพระพิมพ์เล็กควรจะพบเจอทั่วไปได้ง่ายกว่าพิมพ์ใหญ่
ลำดับที่ 9 พระพิมพ์เล็ก เนื้อแดง ควรจะเป็นพระที่พบเจอง่ายสุด เพราะเป็นพระหลักที่ครูบาอาจารย์ใช้ในการแจกทาน ... ณ ปัจจุบัน หลังจากผ่านมา 20 ปี ( ปี 2562) พบว่าแม้แต่พระพิมพ์เล็กเนื้อแดงที่แจกฟรี ก็ไม่ค่อยพบเจอในพื้นที่ อาจเป็นด้วยว่าชาวบ้านแต่ละคนมีจำนวนพระในมือไม่มาก ส่วนใหญ่เก็บไว้ให้ลูกหลาน จึงหายาก ไม่มีพระหมุนเวียนในตลาดพระพื้นที่
* ส่วนคนในพื้นที่ ชาวบ้านที่ไม่มีพระรุ่นนี้เลย ไม่เคยเห็นพระรุ่นนี้เลย ก็ไม่มีเหตุผลอื่นใดนอกจาก ไม่ได้ไปร่วมงานบุญที่วัด สำหรับคนที่ไปวัดบ่อยๆ นอกจาก พระเครื่องที่แจกฟรีให้ทุกคนที่ไปร่วมงานในวันงานกฐินปี 2542 และส่วนที่ถวายให้วัดในปีนั้น ... ยังมีส่วนที่ อ.เทพ เกษมพรรณราย ถวายวัดหนองเลา รอบสอง ประมาณปี พ.ศ.2552 ทุกเนื้อทุกพิมพ์รวมๆประมาณ 9,000 องค์ ซึ่งพระเครื่องส่วนนี้จะกระจายไปที่ใดบ้างนั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของหลวงพ่อเงิน เจ้าอาวาสวัดหนองเลาเป็นผู้ดำเนินการ แต่เท่าที่ณกุศลเห็นตอนไปส่งหลวงพ่อเงินไปต่างประเทศ พบว่าในกระเป๋าเดินทางใบใหญ่มีพระเครื่องรุ่นนี้บรรจุไว้เต็มกระเป๋า ... จากการเดินทางไปต่างประเทศหลายครั้ง คาดว่าพระรุ่นนี้ส่วนใหญ่จะไปอยู่ในความครอบครองของคนในต่างประเทศ และเป็นผลให้พระรุ่นนี้หมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว